การออกแบบผังงาน (Flowchart)
การออกแบบผังงาน คือ การใช้สัญลักษณ์ รูปแบบต่างๆที่แตกต่างกัน มีการทำงานที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับโจทย์และยังมีลูกศรบอกทิศทางการทำงานว่าไปทางไหน แล้วต้องจบที่ไหน เรามาลองดูการทำงานของผังงาน
การทำงานแบบตามเงื่อนไข
การทำงานแบบตามเงื่อนไข (Selection) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การทำงานแบบตัดสินใจ (Decision) นั่นคือเราสามารถให้โปรแกรมเลือกทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยใช้เงื่อนไขเป็นตัวกำหนดการทำงานตามคำสั่ง โดยทั่วไปโปรแกรมจะกำหนดเอาไว้ว่าถ้าเงื่อนไขเป็นจริงโปรแกรมจะไปทำงานอย่างหนึ่ง แต่ถ้าเงื่อนไขเป็นเท็จโปรแกรมก็จะไปทำงานอีกอย่างหนึ่งนั่นก็หมายความว่าโปรแกรมจะเลือกทำงานทิศทางใดทิศทางหนึ่งเท่านั้น เช่น เมื่อเราขับขี่รถไปถึงทางสามแยก เราจะต้องตัดสินใจไปทางใดทางหนึ่ง ไม่สามารถวิ่งไปทั้งสองทางได้ในเวลาเดียวกัน
การทำงานแบบทำซ้ำ
การทำงานแบบวนซ้ำ (Loop)เป็นการนำคำสั่งมาทำงานซ้ำหลายๆ รอบ จะทำงานกี่รอบขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดไว้ ซึ่งอาจจะเป็นการกำหนดจำนวนรอบที่แน่นอน คือไม่แน่ชัดว่าจะทำงานกี่รอบ
การทำงานแบบเรียงลำดับ
เป็นขั้นตอนวิธีการทำงานพื้นฐาน ขั้นตอนวิธีการทำงานแบบลำดับได้รับการพัฒนามาจากโครงสร้างผังงานการทำงานแบบลำดับ การเขียนอธิบายการทำงานของวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้ผังงาน ทำให้สามารถเห็นลำดับขั้นตอนวิธีการทำงานของการแก้ปัญหาได้ชัดเจนกว่าการอธิบายขั้นตอนวิธีการทำงานในลักษณะของข้อความโดยตรง แต่การนำผังงานมาพัฒนาให้เป็นภาษาคอมพิวเตอร์โดยตรง
สรุป การทำงานแบบผังงานจะมีการทำงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับโจทย์ว่าสิ่งที่โจทย์ต้องการคืออะไร แล้วเราก็เลือกการทำงานที่ถูกกับหลักการทำงานของมันเข้ามาช่วยในการเขียนโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น